intraparietal sulcus (ตัวย่อ IPS, แปลว่า ร่องภายในสมองกลีบข้าง) อยู่ที่ผิวด้านข้างของสมองกลีบข้าง มีทั้งส่วนที่เป็นไปแนวเอียงและเป็นไปในแนวนอน IPS มีส่วนย่อยต่าง ๆ ที่มีกิจหน้าที่ต่าง ๆ กัน ที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางทางประสาทสรีรวิทยา (neurophysiology) โดยวัดการตอบสนองในระดับเซลล์เดียวของสัตว์อันดับวานร และโดยสร้างภาพสมองโดยกิจ (functional neuroimaging) ในมนุษย์ สมองส่วนนี้มีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการประสานงานระหว่างการรับรู้และการสั่งการ (perceptual-motor) คือการสั่งการการเคลื่อนไหวตาและการเอื้อม และเกี่ยวกับความใส่ใจทางตา
เชื่อกันว่า IPS ยังมีบทบาทในหน้าที่อื่น ๆ อีกด้วย รวมทั้ง การประมวลข้อมูลคณิตโดยสัญลักษณ์ ควา,จำใช้งานทางตาและพื้นที่ (visuospatial working memory) และการประเมินเจตนาความตั้งใจของผู้อื่น
งานวิจัยทางพฤติกรรมบอกเป็นนัยว่า IPS มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสียหายประมวลตัวเลขโดยขนาด (numerical magnitude processing) ขั้นพื้นฐาน และมีรูปแบบการสลับกันทั้งโดยโครงสร้างและโดยหน้าที่ระหว่าง IPS และ คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) ในความผิดปกติจำเพาะของทักษะทางคณิตศาสตร์ (dyscalculia [ICD-10 R81.2]) มีการพบว่าเด็กที่มีปัญหาทางพัฒนาการโดยภาวะ dyscalculia มีเนื้อเทาที่น้อยกว่าใน IPS ซีกซ้าย
งานวิจัยหลายงานแสดงว่า มีการทำงานทางไฟฟ้าในกลุ่มเซลล์ประสาทของ IPS โดยเฉพาะ เมื่อผู้ร่วมการทดลองกำลังทำการคำนวณเลขเท่านั้น ส่วนในกิจนอกการทดลอง พบว่า เมื่อคนไข้กล่าวถึงเลข ๆ หนึ่ง หรือแม้แต่คำพูดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับปริมาณเช่น "อีกหน่อยหนึ่ง" "มากมาย" หรือว่า "ใหญ่กว่าอีกตัวหนึ่ง" ก็จะมีการทำงานทางไฟฟ้าของกลุ่มเซลล์ประสาทของ IPS เดียวกันที่ทำงานเมื่อคนไข้กำลังทำการคำนวณในการทดลอง